Ninja!

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สาระความรู้ "เรื่องสุขภาพ"

โรคแพ้อากาศ...เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการ จาม คัดจมูก
มีน้ำมูกใส ๆ ไหลเป็น ๆ หาย ๆ อาการเหล่านี้มักมีความสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้น เช่น
ละอองเกสรของพืช ไรฝุ่นและสัตว์เลี้ยง ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของไซนัสอักเสบเรื้อรัง
อาการเหล่านี้ถึงแม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นที่รำคาญต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยและบุคคลใกล้เคียง

ทำไมจึงเป็นโรคภูมิแพ้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้อากาศมักมีพื้นฐานทางกรรมพันธ์ เช่น การมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้
รวมทั้งมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเป็นตัวเสิรม เช่น การที่มีไรฝุ่นเป็นจำนวนมากในบ้าน นอกจากนี้
ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น มลพิษในอากาศหรือควันบุหรี่ ก็จะทำให้อาการแพ้อากาศเป็นมากขึ้นได้

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคแพ้อากาศ
นอกจากประวัติและการตรวจร่างกายแล้ว การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการที่จะช่วยในการวินิจฉัยโรคแพ้อากาศ ได้แก่
1. การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง จะช่วยในการบอกถึงสารที่ก่อภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่
ตัวไรฝุ่น แมลงสาบ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมวและสุนัข ละอองเกสรหญ้า และต้นไม้ เชื้อราในบ้าน เป็นต้น การที่
ทราบถึงสารก่อภูมิแพ้ จะมีประโยชน์อย่างมากในการแนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้น
2. การตรวจเซลล์ภูมิแพ้ในจมูก สามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ และช่วยแยกโรคภูมิแพ้จากโรคติดเชื้อในจมูก
3. การทดสอบอื่น ๆ เช่น การส่องดูจมูกด้วยเครื่องมือพิเศษ (Rhino-scopy) การ X-Ray ดูในโพรงอากาศไซนัส
เพื่อวินิจฉัยภาวะไซนัสอักเสบ ซึ่งอาจพบร่วมกับภาวะภูมิแพ้ทางจมูก เป็นต้น

จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อเป็นโรคแพ้อากาศ
1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นและปัจจัยส่งเสริม เช่น คลุมที่นอนและหมอน ถ้าแพ้ตัวไรฝุ่น ขจัดแมลงสาบและสัตว์เลี้ยงในบ้าน
ถ้าแพ้สารเหล่านี้ การใช้เครื่องปรับอากาศจะช่วยกรองเอาสารก่อภูมิแพ้บางอย่างออกไปจากบ้าน เป็นต้น
2. ล้างจมูกอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำเกลือ จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่อยู่ในจมูก และอาจมีผลลดการติดเชื้อในโพรงไซนัส
เนื่องจากทำให้น้ำมูกไหลออกมาได้ดีขึ้น และไม่มีการอุดตันของน้ำมูกที่มาจากโพรงไซนัส วิธีการล้างจมูกอย่างง่าย ๆ คือ
• 1. ผสมน้ำต้มสุก 500 ซีซี ( ครึ่งลิตร ) กับเกลือ 1 ช้อนชา
• 2. เทน้ำเกลือลงในแก้ว และดูดด้วยลูกยางแดง หรือ Syringe
• 3. ให้ผู้ป่วยก้มหน้า กลั้นหายใจ พร้อมกับบีบน้ำเข้าไปในรู้จมูกช้า ๆ น้ำเกลือควรจะไหลกลับลงมาข้างล่าง
หรือ ไหลไปที่จมูกอีกข้างหนึ่ง ไม่ควรให้คนไข้แหงนหน้า เพราะจะทำให้สำลักน้ำเกลือ
• 4. ให้ผู้ป่วยสั่งน้ำมูก และเช็ดน้ำมูกที่เหลือทั้งหมด
3. การใช้ยา Antihistamine ซึ่งจะช่วยลดอาการคันจมูก น้ำมูกไหลและอาการจามได้ ในปัจจุบันมียา Antihistamine
ใหม่ ๆ ที่มีผลทำให้ง่วงนอนน้อยกว่ายาเดิมได้
4. การใช้ยาพ่น Steroid จะช่วยลดอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหลและอาการจามได้ การใช้ยาพ่น Steroid ในขนาด
ที่เหมาะสมจะมี ผลข้างเคียงน้อยกว่าการรับประทานยา Steroid
5. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ เป็นการฉีดสารก่อภูมแพ้ขนาดน้อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 ปี วิธีนี้จะทำให้ร่างกายทนต่อสารก่อภูมิแพ้
และทำให้ลดปริมาณการใช้ยาลง

ขอขอบคุณ. . .

Gymboree Newsletter ฉบับที่ 10 ปี 2003



 
html { scrollbar-face-color:#800000; scrollbar-highlight-color:#FF0000; scrollbar-3dlight-color:#800000; scrollbar-darkshadow-color:#800000; scrollbar-shadow-color:#FF0000; scrollbar-arrow-color:#ECC977; scrollbar-track-color:#800000; }